วันพุธที่ 3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

จำนวนอ่างเก็บน้ำและฝายในเขตชลประทานจังหวัดราชบุรี

อ่างเก็บน้ำห้วยสำนักไม้เต็ง
ที่มาของภาพ
http://www.bkk.in.th/Topic.aspx?TopicID=11513
ข้อมูลเกี่ยวกับอ่างเก็บน้ำและฝายชลประทานขนาดเล็กและขนาดกลางในเขตชลประทานจังหวัดราชบุรี

อ่างเก็บน้ำชลประทานขนาดกลาง (5 อ่างเก็บน้ำ)

อ.บ้านคา
  1. อ่างเก็บน้ำโป่งกระทิง หมู่บ้านโป่งกระทิง ต.บ้านบึง
  2. อ่างเก็บน้ำห้วยท่าเคย หมู่บ้านบ้านบึง ต.บ้านบึง
  3. อ่างเก็บน้ำห้วยมะหาด หมู่บ้านซ้ายแดง ต.หนองพันจันทร์
อ.สวนผึ้ง
  • อ่างเก็บน้ำชัฎป่าหวาย หมู่บ้านท่าเคย ต.ท่าเคย
อ.เมืองราชบุรี
  • อ่างเก็บน้ำห้วยสำนักไม้เต็ง หมู่บ้านน้ำพุ ต.น้ำพุ

อ่างเก็บน้ำและฝายชลประทานขนาดเล็ก (19 ฝาย 53 อ่างเก็บน้ำ)

อ.เมือง (3 ฝาย)
  1. ฝายนาคราช หมู่บ้านกุเลา ต.หินกอง 
  2. ฝายบ้านเขาถ้ำ หมู่บ้านเขาถ้ำ ต.ห้วยไผ่
  3. ฝายบ้านท่าปู่ทิม หมู่บ้านท่าปู่ทิม ต.ดอนแร่ 
อ.ปากท่อ (8 ฝาย 15 อ่างเก็บน้ำ)
  1. ฝายห้วยผาก 2 หมู่บ้านห้วยผาก ต.ดอนทราย
  2. ฝายห้วยกระทือ หมู่บ้านวังมะนาว ต.อ่างหิน
  3. อ่างเก็บน้ำห้วยต้นห้าง หมู่บ้านห้วยต้นห้าง ต.อ่างหิน
  4. ฝายบ้านอ่างทอง หมู่บ้านน้ำพุ ต.อ่างหิน
  5. ฝายอ่างหิน หมู่บ้านหนองลังกา ต.ห้วยยางโทน
  6. อ่างเก็บน้ำหนองโก หมู่บ้านหนองโก ต.ห้วยยางโทน
  7. ฝายห้วยผาก 1 หมู่บ้านทุ่งหลวง ต.ทุ่งหลวง
  8. อ่างเก็บน้ำห้วยพุเกตุ หมู่บ้านพุเกตุ ต.ทุ่งหลวง
  9. ฝายวังมะนาว หมู่บ้านน้ำพุ ต.วังมะนาว
  10. อ่างเก็บน้ำห้วยศาลา 1 ต.ห้วยศาลา ต.ยางหัก
  11. ฝายบ้านท่ายาง หมู่บ้านท่ายาง ต.ยางหัก
  12. อ่างเก็บน้ำบ้านไทประจันต์ หมู่บ้านไทประจันต์ ต.ยางหัก
  13. ฝายบ้านยางคู่ หมู่บ้านยางคู่ ต.ยางหัก
  14. อ่างเก็บน้ำบ้านหินสี หมู่บ้านหินสี ต.ยางหัก
  15. อ่างเก็บน้ำห้วยศาลา 2 หมู่บ้านห้วยศาลา ต.ยางหัก
  16. อ่างเก็บน้ำบ้านวังปลาช่อน หมู่บ้านวังปลาช่อน ต.ยางหัก
  17. อ่างเก็บน้ำบ้านลานคา หมู่บ้านลานคา ต.ยางหัก
  18. อ่างเก็บน้ำบ้านพุกรูด หมู่บ้านหินสี ต.ยางหัก
  19. อ่างเก็บน้ำห้วยพุกรูด หมู่บ้านหินสี ต.ยางหัก
  20. อ่างเก็บน้ำเขาหัวแดง หมู่บ้านปากง่าม ต.ยางหัก
  21. อ่างเก็บน้ำบ้านตากแดด หมู่บ้านตากแดด ต.ยางหัก
  22. อ่างเก็บน้ำหินสีตอนบน หมู่บ้านยางหัก ต.ยางหัก
  23. อ่างเก็บน้ำบ้านหนองตาหลวง หมู่บ้านหนองตาหลวง ต.ยางหัก
อ.จอมบึง (2 ฝาย 7 อ่างเก็บน้ำ)
  1. อ่างเก็บน้ำบ้านรางม่วง หมู่บ้านรางม่วง ต.จอมบึง
  2. อ่างเก็บน้ำพุคา หมู่บ้านดงไฝ ต.จอมบึง
  3. อ่างเก็บน้ำพุเสือเต้น หมู่บ้านพุเสือเต้น ต.จอมบึง
  4. ฝายบ้านหนองบัวค่าย หมู่บ้านหนองบัวค่าย ต.รางบัว
  5. อ่างเก็บน้ำบ้านหนองปากชัฎ หมู่บ้านหนองปากชัฎ ต.แก้มอ้น
  6. อ่างเก็บน้ำหุบพ่อเฒ่า ต.แก้มอ้น
  7. ฝายทุ่งกระถิ่น หมู่บ้านทุ่งกระถิน ต.ด่านทับตะโก
  8. อ่างเก็บน้ำห้วยอ้ายหลิว หมู่บ้านหุบพริก ต.ด่านทับตะโก
  9. อ่างเก็บน้ำรางไข่เน่า หมู่บ้านโกรกสิงขร ต.ด่านทับตะโก
อ.สวนผึ้ง (5 ฝาย 15 อ่างเก็บน้ำ)
  1. อ่างเก็บน้ำห้วยกระชาย หมู่บ้านรางเสน่ห์ ต.ท่าเคย
  2. อ่างเก็บน้ำบ้านห้วยทุ่งหญ้า  หมู่บ้านทุ่งหญ้า ต.ท่าเคย
  3. อ่างเก็บน้ำบ้านทุ่งหินสี หมู่บ้านทุ่งหินสี ต.ท่าเคย
  4. ฝายบ้านทุ่งศาลา หมู่บ้านทุ่งศาลา ต.ป่าหวาย
  5. อ่างเก็บน้ำบ้านทุ่งศาลา หมู่บ้านทุ่งศาลา ต.ป่าหวาย
  6. ฝายบ้านบ่อหวี หมู่บ้านบ่อหวี ต.ตะนาวศรี
  7. ฝายบ้านห้วยม่วง หมู่บ้านห้วยม่วง ต.ตะนาวศรี
  8. อ่างเก็บน้ำบ้านสวนผึ้ง หมู่บ้านสวนผึ้ง ต.ตะนาวศรี
  9. อ่างเก็บน้ำบ้านตะเคียนทอง หมู่บ้านตะเคียนทอง ต.ตะนาวศรี
  10. อ่างเก็บน้ำห้วยอะนะ หมู่บ้านตะเคียนทอง ต.ตะนาวศรี
  11. อ่างเก็บน้ำบ้านโป่งแห้ง 1 หมู่บ้านตะนาวศณี ต.ตะนาวศรี
  12. อ่างเก็บน้ำห้วยคอกหมู หมู่บ้านบ่อหวี ต.ตะนาวศรี
  13. อ่างเก็บน้ำผาชลแดน หมู่บ้านห้วยน้ำหนัก ต.ตะนาวศรี
  14. ฝายห้วยคลุม หมู่บ้านถ้ำหิน ต.สวนผึ้ง
  15. ฝายบ้านทุ่งแฝก หมู่บ้านทุ่งแฝก ต.สวนผึ้ง
  16. อ่างเก็บน้ำห้วยผาก หมู่บ้านห้วยผาก ต.สวนผึ้ง
  17. อ่างเก็บน้ำบ้านตะโกล่าง หมู่บ้านตะโกล่าง ต.สวนผึ้ง
  18. อ่างเก็บน้ำบ้านถ้ำหิน หมู่บ้านถ้ำหิน ต.สวนผึ้ง
  19. อ่างเก็บน้ำบ้านห้วยสุด หมู่บ้านห้วยสุด ต.สวนผึ้ง
  20. อ่างเก็บน้ำบ้านตะโกล่าง หมู่บ้านตะโกล่าง ต.สวนผึ้ง
อ.บ้านคา (1 ฝาย 16 อ่างเก็บน้ำ)
  1. ฝายห้วยมะหาดตอนล่าง หมู่บ้านบ้านคา ต.บ้านคา
  2. อ่างเก็บน้ำบ้านพุขี้เหล็ก หมู่บ้านพุขี้เหล็ก ต.บ้านคา
  3. อ่างเก็บน้ำบ้านบึงใต้ หมู่บ้านบึงใต้ ต.บ้านคา
  4. อ่างเก็บน้ำบ้านบึงเหนือ หมู่บ้านบึงเหนือ ต.บ้านคา
  5. อ่างเก็บน้ำบ้านหนองน้ำขุ่น หมู่บ้านหนองน้ำขุ่น ต.บ้านคา
  6. อ่างเก็บน้ำบ้านห้วยไทร หมู่บ้านหนองปล้อง ต.บ้านคา
  7. อ่างเก็บน้ำบ้านร่องเจริญ หมู่บ้านร่องเจริญ ต.บ้านคา
  8. อ่างเก็บน้ำลำพระ หมู่บ้านพุตะเคียน ต.บ้านบึง
  9. อ่างเก็บน้ำโป่งกระทิงบน หมู่บ้านพุขี้เหล็ก ต.บ้านบึง
  10. อ่างเก็บน้ำบ้านพุน้ำร้อน หมู่บ้านพุน้ำร้อน ต.บ้านบึง
  11. อ่างเก็บน้ำพุตะเคียน หมู่บ้านพุตะเคียน ต.บ้านบึง
  12. อ่างเก็บน้ำห้วยน้ำใส หมู่บ้านห้วยน้ำใส ต.บ้านบึง
  13. อ่างเก็บน้ำห้วยมะกรูด หมู่บ้านห้วยมะกรูด ต.บ้านบึง
  14. อ่างเก็บน้ำบ้านดงยาง หมู่บ้านดงยาง ต.บ้านบึง
  15. อ่างเก็บน้ำห้วยมะหาดตอนล่าง หมู่บ้านหนองจอก ต.หนองพันจันทร์
  16. อ่างเก็บน้ำห้วยมะหาดตอนบน หมู่บ้านหนองจอกบน ต.หนองพันจันทร์
  17. อ่างเก็บน้ำทุ่งหมูปล่อย หมู่บ้านทุ่งหมูปล่อย ต.หนองพันจันทร์ 

ที่มาข้อมูล
สำนักงานพลังงานจังหวัดราชบุรี. (2553). สถานการณ์พลังงานจังหวัดราชบุรี 2553. กระทรวงพลังงาน. (หน้า 149-153)
อ่านต่อ >>

วันจันทร์ที่ 23 สิงหาคม พ.ศ. 2553

แม่น้ำแม่กลองยุคแรกไหลออกอ่าวไทยที่นครปฐม

แม่กลองยุคแรกไหลลงนครชัยศรี
ย้อนหลังไปประมาณ 3,000 ปีมาแล้ว ลำน้ำแม่กลองไม่ได้ไหลผ่านอำเภอท่ามะกาลงไปทางอำเภอบ้านโป่งและอำเภอโพธาราม เข้าเขตเมืองราชบุรีแล้ว ไปออกปากน้ำที่จังหวัดสุมทรสงครามอย่างที่เห็นทุกวันนี้ แต่ไหลไปออกอ่าวไทยในเขตจังหวัดนครปฐมแทน

ปรากฏร่องรอยลำน้ำที่แยกจากบริเวณอำเภอท่าเรือไปทางตะวันออกเฉียงใต้ วกวนไปทางอำเภอนครชัยศรี ที่ยังแลเห็นร่องรอยชัดเจนก็ได้แก่ลำน้ำทัพหลวงและลำพะเนียงแตก เป็นต้น

เมื่อเป็นเช่นนี้ อาณาบริเวณที่เป็นที่ราบลุ่มของจังหวัดราชบุรี ตั้งแต่เขตอำเภอบางแพ อำเภอเมือง อำเภอปากท่อ จังหวัดราชบุรี เลยเข้าไปถึงเขตอำเภอเขาย้อย จนถึงอำเภอเมืองเพชรบุรี ในเขตจังหวัดเพชรบุรี ก็คือบริเวณหาดทรายชายขอบอ่าวไทยในสมัยราว 3,000 ปี นั้นเอง (ลองดูภาพด้านล่างประกอบ)

แผนที่แสดงความสัมพันธ์ระหว่างแหล่งที่ตั้งชุมชนโบราณ
และแนวชายฝั่งทะเลเดิมบริเวณที่ราบเจ้าพระยา
(ภาพจากหนังสือ "จากห้วงอวกาศสู่พื้นแผ่นดินไทย)

ทำให้บริเวณอำเภอนครชัยศรี อำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม เรื่อยลงมาถึงอำเภอบ้านแพ้ว จังหวัดสมุทรสาคร อำเภอดำเนินสะดวก อำเภอวัดเพลง จังหวัดราชบุรี เลยไปถึงอำเภอบางคนที อำเภออัมพวา และอำเภอเมือง  จังหวัดสมุทรสงคราม และอำเภอบ้านแหลม จังหวัดเพชรบุรี ยังเป็นส่วนหนึ่งของท้องทะเลและที่ลุ่มใต้น้ำที่เริ่มจะดอนขึ้นเท่านั้น

ปัจจุบันหาดทรายชายขอบอ่าวไทยในยุคนั้น ยังเห็นได้จากแนวสันทราย ตั้งแต่บริเวณบ้านตากแดด อำเภอบางแพ ผ่านบ้านโพหัก ลงมายังอำเภอเมือง จังหวัดราชบุรี และต่อเป็นแนวยาวผ่านบ้านคูบัวลงไปยังอำเภอปากท่อ อำเภอเขาย้อย และอำเภอเมือง จังหวัดเพชรบุรี ตามลำดับ

แนวสันทรายชายหาดที่ผ่ายเขตคูบัว จนไปถึงเมืองเพชรบุรีนี้ ได้กลายเป็นเส้นทางคมนาคมทางบกระหว่างเมืองราชบุรีและเพชรบุรี เกิดชุมชนตามแนวสันทรายเป็นระยะอย่างต่อเนื่อง ชาวบ้านเรียกว่า ถนนท้าวอู่ทอง ที่ใช้สัญจรมาก่อนมีถนนเพชรเกษม

ภาพโมเสกจากดาวเทียม LANDSAT TM บริเวณที่ราบเจ้าพระยาตอนล่าง
จากอ่าวไทยขึ้นไปจนถึง จ.ชัยนาท สภาพภูมิประเทศที่ราบลุ่มต่ำ
เคยเป็นทะเลมาก่อน มีแม่น้ำหลายสายไหลผ่านที่ราบก่อนออกสู่ทะเล
บริเวณต่อเนื่องจากทะเลที่เห็นในภาพเป็นสีเข้มเน้นให้เห็นขอบที่ลุ่ม
ซึ่งเป็นแนวชายฝั่งทะเลมาก่อน
ตำแหน่งเมืองโบราณอยู่บนส่วนที่เป็นแผ่นดิน โดยรอบแนวชายฝั่ง
(ภาพจากหนังสือ "จากห้วงอวกาศสู่พื้นแผ่นดินไทย"
สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ จัดพิมพ์ทูลเกล้าฯ ถวาย
สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
เนื่องในวโรกาสทรงเจริญพระชนมายุ 36 พรรษา 2 เมษายน 2534)
ที่มา :
ศรีศักร วัลลิโภดม. (2547). ลุ่มแม่น้ำแม่กลองมีคนยุคหินเป็นบรรพชนคนยุคปัจจุบัน. ลุ่มน้ำแม่กลอง : ประวัติศาสตร์ชาติพันธุ์ "เครือญาติ" มอญ. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์มติชน. (หน้า 39-40)
อ่านต่อ >>